วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

Pharmacovigilance of ACEIs & ARBs

ACEI
ยาในกลุ่ม ACEI ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Generic name
Trade name
Captopril
Capoten
Cilazepril
ZESTRIL
Enalapril
Renitec
Fosinopril
Monopril
Imidapril
Tanatril
Lisinopril
Zestril
Perindopril
Coversyl
Quinapril
Accupril
Ramipril
Tritace

Adverse Effects of ACEIs
พบว่าคนไข้ส่วนใหญ่ทนต่อยาได้
ผลข้างเคียงทั่วไป
·       Hypotension
·       ไอแห้ง (พบบ่อยสุด) ***
·       การทำงานของไตบกพร่องลง
·       K+ ในเลือดสูง
·       Angioedema
·       ผลข้างเคียงที่ปรากฏทางผิวหนัง

พบการเกิดผลข้างเคียงครั้งแรก เมื่อใช้ Captopril dose สูงๆ
·       สูญเสียการรับรส
·       Neutropenia
·       โปรตีนรั่วในปัสสาวะ (แม้ยากลุ่มนี้จะ prevent ไตได้)

Physiologic Side Effects ***

·       เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ angiotensin - II  โดยเกี่ยวข้องกับปริมาณที่ออกฤทธิ์ (และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของ bradykinin ด้วย)
·       ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้เด่นโดยเฉพาะต่อระบบไหลเวียนโลหิตและไต  เกิดมากน้อยขึ้นอยู่กับระดับของ angiotensin - II  และความสำคัญของ function ต่อร่างกายว่ามีขนาดไหน
·       ผลข้างเคียง ACEI ในทางสรีรวิทยา อาจทำให้ผู้ป่วยแย่ลงได้ถ้าอยู่ในสภาวะขาด volume อาจมาจากการจำกัดการบริโภคเกลือและน้ำของผู้ป่วย  ผลข้างเคียง ACEI ก็จะยิ่งปรากฏได้ง่ายขึ้นชัดขึ้น

1.      Hypotension
-            ความดันโลหิตต่ำ ไม่ใช่ SE เฉพาะของ ACEI อาจเกิดจากการยาตัวอื่นก็ได้
-            ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดเมื่อเริ่มแรกหรือเมื่อไหร่ก็ได้ระหว่างการใช้ยา
-            เกิดความดันเลือดต่ำ ในช่วงวันแรกๆของการเริ่มใช้ยา วิธีแก้ไขก็ลดขนาดยาหรือหยุดยาชั่วคราว แล้วค่อย on ยาใหม่
-            ภาวะความดันโลหิตต่ำ เกิดได้บ่อยในผู้ป่วยที่มี HF โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ systolic function ไม่ค่อยดี
-            ผู้ป่วยที่ใช้ยา มีการออกกำลังกายมากเกินไป เสียเหงื่อและน้ามากเกินไป ระวังการเกิดความดันโลหิตต่ำ
-            ถ้า BP ผู้ป่วยลดลงไม่มาก ก็เพิ่ม volume ในร่างกายด้วยการกินน้ำ และคอยเช็คความดันโลหิตด้วยตัวเองทุกวัน
-            หากความดันโลหิตต่ำเวลานาน ติดต่อกันหลายๆวัน อัตราการกรองที่ไต(GFR) จะลดลง  ซึ่งส่งผลถึงการขจัดยาออกจากร่างกาย รวมทั้งยาอื่นๆด้วย (ยกเว้น fosinopril และ trandolapril ไม่ได้ขจัดออกทางไตเป็นหลัก)
-            แก้ไขโดย Infuse น้ำเกลือเข้าทาง IV เพื่อที่จะ maintain volume ไว้ให้ได้ ซึ่งจะมีผลให้สามารถประคับประคองอัตราการกรองของไตไว้ได้

2.  Renal Function

-            functional renal insufficiency การบกพร่องของไต เนื่องจาก function
-            มีการรายงานครั้งแรกในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงไตตีบ
-            สภาวะที่ทำให้เกิด functional renal insufficiency ง่ายขึ้น ***
-          Dehydration ; ขาดน้ำ,ขาดเกลือ
-          มี CHF ร่วมด้วย
-          Low systolic BP ต่ำๆ (< 90 mmHg)
-          อายุ > 70
-          ใช้ NSAIDs
-          ผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดไตทั้ง macro-or microvascular renal disease, underlying renal disease, renal artery stenosis

วิธีแก้ไข
-          หยุดยา
-          เพิ่ม volume เช่น ให้ IV fluid

3.  Hyperkalemia

-            ยากลุ่มนี้ทำให้เพิ่มขึ้นแค่ (0.1-0.2 mEq/L) ไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก เว้นแต่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้ระดับ K+ ในเลือดสูงเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว  เช่น การได้รับ K+ เสริม,ไตมีปัญหา,ได้ ACEIs + K+sparing diuretics
-            แต่ก็ต้อง monitor K+ ในเลือด ในผู้ป่วยที่ใช้ ACEIs และ ARB ไม่ว่าจะมีปัจจัยอื่นร่วมหรือไม่ก็ตาม
-            มักพบ K+ สูงใน ***
        ·           CHFการทำงานของไตบกพร่องลง
        ·           ผู้สูงอายุ
        ·           DM
        ·           ไตล้มเหลว
        ·           ผู้ป่วยใช้ K+ เสริม, K+sparing diuretics,Heparin, NSAIDs

4.      Pregnancy risk

-              ห้ามใช้ ACEIs และ ARB ในสตรีมีครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ทำให้ function ไตบกพร่อง
-              ยากลุ่มนี้สามารถทำให้การสร้างน้ำคร่ำผิดปกติได้ ส่งผลถึงระดับปริมาตรของน้ำคร่ำ ส่งผลต่อทารกในครรภ์

Non-Physiologic Side Effects

1.      Angioedema

-            Angioneurotic edema

-            พบน้อยแต่รุนแรง

-            ไม่จำเป็นตั้งเกิดในครั้งแรกที่ใช้ยา
-            Onset ของ Angioedema จาก ACEIs อาจจะเป็นชั่วโมงหรือเป็นปี
-            60% ของผู้ป่วยที่เกิด Angioedema มักเกิดใน wk แรก ที่ใช้ยา
-            อุบัติการณ์ 0.1-0.5% ในผู้ป่วยที่ใช้ยา ACEIs
-            กลไกคาดว่าเกี่ยวกับ bradykinin
-            ลักษณะของ Angioedema คือ มีอาการบวมบริเวณเยื่อบุช่องปาก,ริมฝีปาก,ลิ้นรวมทั้งทางเดินหายใจ คล้าย SJS
-            อาการบวมเกิดได้แม้ในลำไส้ (มักพบผู้หญิง) มีอาการปวดท้อง,ท้องเสีย โดยไม่มีอาการแสดงบนใบหน้า  ทางเดินหายใจหรือช่องปาก
-            ถ้าเกิด Angioedema จาก ACEIs เป็นไปได้ที่จะเกิดซ้ำถ้าเปลี่ยนไปใช้ARB แต่บางรายก็ไม่เกิด ลอง challenge ดู

2.   Cough

-          พบบ่อยที่สุด, ไม่เกี่ยวข้องกับขนาดยา
-          พบครั้งแรกในปี 1985 ในผู้ป่วยที่ใช้ captopril
-          อุบัติการณ์ความถี่ในเกิดอาการไอแห้งอาจจะสูงได้ถึง 15-39% และจะแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
-          เป็นไอแห้งธรรมดา ไม่มี wheezing ไม่มีอาการอื่นๆของทางเดินหายใจผิดปกติ อาการอาจจะเริ่มตั้งแต่ 1-7 วัน หลัง on ยา  และอาการอาจจะคงอยู่ ไปได้หลายสัปดาห์หลังจากหยุดยาแล้ว
-          หยุดยาแล้วอาจจะหายภายใน 4-7 วัน หรือเป็นเดือนกว่าจะหายสนิท
-          ต้องแยกให้ได้ว่าเกิดจาก ACEIs หรือ หอบหืด,COPD,โรคภูมิแพ้หรือ CHF โดยทั่วไปให้หยุดยา แล้วดูว่าอาการไอยังคงอยู่ไหม
     กลไกอาการไอแห้ง ***
·       เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของ bradykinin และ Substance P ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิด Prostaglandin E2   และการสะสมของ Prostaglandin E2 ใน C fiber receptors ทำให้เกิดการไอ เพราะมันไปกระตุ้น cough reflex
Management:
·       ถ้าไอจากยา  ทนไหวให้กินต่อ
·       ทนไม่ได้ให้หยุดยา เปลี่ยนไปใช้ ARB
ยาที่มีการศึกษา มีแนวโน้มว่าลดอาการไอได้ ยังไม่มาตรฐาน***
·       Sodium cromoglycate ใช้แบบ inhalation
·       Theophyllin แต่มี DI เยอะ คุมขนาดยาก
·       Baclofen GABA agonist เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
·       Sulindac (Clinoril®) เป็น NSAIDs ยับยั้งการสร้าง PG ในทางสถิติพบว่ามีนัยสำคัญในการลดอาการไอที่เกิดจาก cough reflex  แต่เมื่อใช้ NSAIDs คู่กับ ACEIs อาจจะส่งผลต่อไตได้*

3.   Anemia

·       ACEIs สามารถลดการสร้าง erythropoietin แบบ dose-dependent  .: ต้อง monitor CBC
·       อาจจะพบ Neutropenia และ agranulocytosis รายงานที่พบครั้งแรก มาจาก Captopril และมักจะพบในผู้ป่วยที่เป็น renal failure( แต่เลี่ยงไม่ได้ในผู้ป่วย CKD ซึ่งมีปัญหาการสร้างเม็ดเลือดอยู่แล้ว และมักใช้ ACEIs เป็น 1  line drug จึงเกิด SE ซ้อน แต่ประโยชน์มากกว่าผลเสีย ก็ยังใช้อยู่)

Non-Specific Side Effects

·       โดยทั่วไปมักไม่พบ

·       ที่อาจพบ ในเรื่องของ skin reactions: life-threatening angioedema, pruritus, bullous eruptions, urticaria, other generalized rashes, photosensitivity, and hair loss

·       ส่วนใหญ่ที่พบในผู้ป่วยที่ใช้ captopril ได้แก่ : skin reactions ,taste disturbances, leucopenia, and Neutropenia, proteinuria,oral lesion (แผลในปาก)

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง

·       Bilateral renal artery stenosis
·       Pregnancy
·       Known allergy or Hypersensitivity (แพ้ยา)
·       Hyper K+ (สูงเมื่อไหร่หยุดยา ลดลงปกติ ค่อยใช้อีก)
·       ระวังใน Preexisting hypotension ผู้ป่วยที่พร้อมจะแสดงภาวะความดันโลหิตต่ำ
·       ผู้ป่วยที่ไตบกพร่องอย่างรุนแรง Cr>2.5-3.0 mg/dL ระวังอย่างมาก ดูเรื่องของขนาดยาตาม function ไตไปด้วย แม้จะมีปัญหาไต แต่ ACEIs มีผลดีมากกว่าผลเสีย ก็ยังให้ใช้อยู่

ARBs
ยาในกลุ่ม ARBs ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Generic name
Trade name
Candesartan
Blopress
Eprosartan
Teveten
Irbesartan
Aprovel
Losartan
Cozaar
Olmesartan
Olmetec
Telmisartan
Micardis
Valsartan
Diovan

Adverse Effects of ARBs
·       ยาในกลุ่มนี้พบว่าส่วนใหญ่ทำให้เกิด upper respiratory tract infection (ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น) ราว ๆ 6-9 ยกเว้น Olmesartan และ Valsartan เกิดได้ประมาณ 1%
·       ARBs ไม่เกี่ยวข้องกับอาการไอ ***
·       Eprosartan อุบัติการณ์ที่ทำให้เกิดอาการไอ,หลอดลมอักเสบ*(pharyngitis),เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ(rhinitis)* และติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีประมาณ 4%
·       Candesartan ที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ (Dizziness)* 4%
·       Dizziness ที่พบราว 2-4% คาดว่าเกี่ยวกับ first-dose Hypotension
·       ARBs สามารถทำให้เกิด  renal insufficiency และ hyper K+ เหมือน ACEIs
·       อุบัติการณ์ angioedema ต่ำกว่า เหมือน
·       liver function และ serum bilirubin เพิ่มขึ้น แต่ค่อนข้างพบยากมาก
·       หลีกเลี่ยงในสตรีมีครรภ์ เหมือน ACEIs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น